ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร

ผลลัพธ์ของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร    

        แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาท ต้องมีผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (intended learning outcomes / milestones) ที่ชัดเจน ครอบคลุมประเด็นทั้ง 6 ด้าน ดังต่อไปนี้
    1 ทักษะและเจตคติในการบริบาลผู้ป่วย (Patient care)
ก.    ทักษะในการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย (History taking and physical examination)
ข.    ทักษะในการให้คำปรึกษาและแนะนำ (Consultation and recommendation) เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคทางหลอดเลือดระบบประสาท ให้แก่ ผู้ป่วยและแพทย์สาขาอื่นได้อย่างเหมาะสม โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม พิจารณาและคำนึงถึงมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความเสี่ยงและประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก
ค.    มีความรู้ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางสาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท (Performing diagnostic and treatment procedures)
ง.    มีทักษะในการเตรียมผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยหลังทำการรักษาโดยวิธีการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาทได้อย่างเหมาะสม (Pre and postoperative care)
จ.    มีทักษะในการตรวจพบและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการฉีดสีหลอดเลือดระบบประสาทและระหว่างทำการรักษาทางรังสีร่วมรักษาประสาท ได้อย่างเหมาะสม (Complication management) และสามารถสื่อสารเกี่ยวกับข้อผิดพลาด ภาวะแทรกซ้อน หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

 

2. ความรู้และทักษะในการตรวจวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโรคทางด้านหลอดเลือดระบบประสาท (Medical knowledge and procedural skill)
ก.    มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของร่างกายและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับสาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท
ข.    มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในวิชาชีพสาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท
    3. การพัฒนาปรับปรุงตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice - based learning    
                and improvement)
ก.    เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงาน
ข.    ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
ค.    วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้
    4. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
ก.    สามารถสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ข.    สามารถสื่อสารให้ข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายวิธีการตรวจรักษาโรคให้กับทีมดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค.    สามารถสื่อสารปฏิสัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานและสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
ง.    มีทักษะในการขอใบแสดงความยินยอม (Obtaining informed consent) ในกรณีที่ทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการทำการฉีดสีหลอดเลือดระบบประสาท และการรักษาโรคโดยวิธีการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาท
5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism) รวมทั้งคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (continue medical education) หรือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (continue professional development)
         แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมแห่งวิชาชีพที่ดีของแพทย์และการศึกษาต่อเนื่อง ดังนี้
ก.    มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
ข.    มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (non - technical skills) และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม
ค.    มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuing professional development)
ง.    มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
    6.  การปฏิบัติงานตามระบบ (System - based practice)  
ก.    ความรู้ ด้านระบบพัฒนาคุณภาพ (quality improvement) ทางรังสีร่วมรักษา ได้แก่
i.    กระบวนการในการกำกับดูแลความปลอดภัยผู้ป่วย (patient safety)
ii.    กระบวนการในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางด้านรังสี (radiation safety) ทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากร  
iii.    กระบวนการจัดการอุบัติการณ์ของความเสี่ยง
ข.    ความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
ค.    มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
ง.    ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ